การวางท่อ HDPE มีหลายวิธีให้เลือกใช้ โดยขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ สภาพหน้างาน (ไซต์งาน) และข้อกำหนดที่แตกต่างกัน แม้กระทั่งงบประมาณที่ถูกจัดสรรลงมา วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับการวางท่อ HDPE โดยวิธี trench installation ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นที่นิยมที่สุดวิธีหนึ่ง หรือหลายคนมักจะเรียกว่าเป็นวิธี “ขุดร่อง”
การวางท่อ HDPE แบบ trench installation คืออะไร?
การวางท่อ HDPE แบบ trench installation หมายถึงขั้นตอนการติดตั้งท่อโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) ด้วยการขุดร่อง วางท่อ แล้วฝังกลบ ซึ่งเหมาะสำหรับการติดตั้งท่อสำหรับ ระบบประปา ระบบระบายน้ำ หรือท่อร้อยสาย เป็นต้น
ท่อ HDPE มีคุณสมบัติเด่นด้านความแข็งแรง ทนทาน ยืดหยุ่น และทนต่อการกัดกร่อน จึงเป็นทางเลือกที่นิยมสำหรับการติดตั้งใต้ดิน
วิธีการติดตั้งท่อ HDPE แบบขุดร่องนี้ นิยมใช้กันมานาน มีการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการอย่างต่อเนื่องและยังคงนิยมใช้กันจนถึงปัจจุบันนี้
ขั้นตอนการวางท่อ HDPE แบบ trench installation
การวางแผนและการออกแบบ: กำหนดความต้องการของโครงการ รวมถึงเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ ความยาว และเส้นทางการวางท่อ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพดิน ความลึก ความลาดชัน และใบอนุญาตที่จำเป็น เป็นต้น
การขุด: ขุดร่องตามเส้นทางและขนาดที่ต้องการ และตรวจสอบว่าเป็นไปตามแผนที่ออกแบบและข้อกำหนด โดยร่องที่ขุดควรมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการวางท่อ การถมกลับ และการบดอัดหลังจากมีการวางท่อ
การปรับหน้าดินและการปรับระดับ: ปรับหน้าดินของร่องโดยการบดผิวที่ขุดให้เรียบและไม่มีหินที่แหลมคม เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับท่อที่วาง
การวางท่อ: วางท่อ HDPE ลงในร่อง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่ออยู่ในแนวเดียวกันทั้งหมด หลีกเลี่ยงการลากท่อ เพราะอาจทำให้ท่อเสียหายได้ หลังจากวางท่อเสร็จสามารถเชื่อมท่อเข้าด้วยกันด้วยความร้อนหรือใช้ข้อต่อตามที่ออกแบบไว้
การเชื่อมท่อด้วยความร้อนและข้อต่อ: ท่อ HDPE สามารถเชื่อมเข้าด้วยกันโดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การเชื่อมด้วยความร้อน (Butt Fusion) การเชื่อมด้วยไฟฟ้า (Electrofusion) หรือใช้ข้อต่อเชิงกล (mechanical Fittings)
การถมกลับ: เมื่อทำการเชื่อมท่อและติดตั้งข้อต่อเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการถมร่องด้วย ดิน กรวด และทราย กลับเข้าไปให้เต็มร่องร่องเพื่อไม่ให้มีช่องว่างในร่อง
การบดอัดและการปรับพื้นผิว: บดอัดวัสดุที่ถมกลับ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีช่องว่าง และปรับพื้นผิวกลับสู่สภาพเดิมและสามารถใช้งานพื้นผิวได้ตามปกติ
การทดสอบและเริ่มใช้งานท่อ: ทำการทดสอบแรงดันหรือการรั่วไหลของ HDPE และจุดเชื่อม เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และประสิทธิภาพของท่อ โดยปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมและข้อกำหนดเฉพาะของโครงการสำหรับขั้นตอนการทดสอบ หากตรวจสอบผ่านแล้วมสามารถเปิดใช้งานท่อได้
ข้อดีและข้อเสียของติดตั้ง trench installation
ข้อดีของติดตั้ง trench installation
ข้อดีของการใช้วิธีนี้ในการติดตั้งท่อ HDPE ก็คือเหมาะสมอย่างยิ่งกับพื้นที่ ที่ยังไม่มีกาดตัดถนน โดยจะมีการใช้งบประมาณในการดำเนินงานที่ถูกกว่า หากเทียบกับวิธี Trenchless installation
ข้อเสียของวิธีการติดตั้ง trench installation
เมื่อมีข้อดี ก็มักจะมีข้อเสียที่ตามมา วิธีการติดตั้งท่อ HDPE แบบนี้ จะมีข้อเสียเปรียบกว่าวิธีอื่น คือต้องมีการขุดร่องลึกตลอดแนวเดินท่อ ทำให้มีความจำเป็นต้องขนดินที่ขุด ทำให้มีต้นทุนเพิ่มในการจัดการ และหากพื้นที่ทำงาน มีการตัดถนนไว้แล้ว หรือปูพื้นหญ้าไว้แล้ว ขั้นตอนการซ่อมบำรุงจะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เทคนิคการติดตั้งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของโครงการ ข้อบังคับท้องถิ่น ดังนั้น การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งท่อ HDPE จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งสำเร็จและใช้งานได้อีกยาวนาน
Comments are closed.