ช่วงนี้กำลังเป็นเรื่องร้อนแรงในหลายจังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล เรื่องการนำสายไฟและสายสัญญาณลงดิน เนื่องจากประเทศไทยกำลังมีแผนจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ นำสายไฟที่ห้อยอยู่ออกให้หมด และนำมาลงไว้ใต้ดินแทน ทั้งนี้การนำสายไฟฟ้าและสายสัญญาณลงดิน ไม่เพียงแต่เป็นการปรับทัศนียภาพและทำให้บ้านเมืองสวยขึ้นเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความปลอดภัยจากไฟไหม้สายไฟฟ้าและสายสัญญาณตามที่ได้เห็นในข่าวอยู่บ่อยๆ อีกทั้งยังรักษาสายไฟฟ้าและสายสัญญาณให้ใช้ได้นานขึ้นอีกด้วย
วันนี้ บริษัท ไทย-เอเซีย พี.อี. ไพ้พ์ จำกัด อยากชวนทุกท่านมาทำความเข้าใจกับโครงการนำสายไฟฟ้า-สัญญาณในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลลงสู่ใต้ดิน รวมทั้งวิธีการ และ อุปกรณ์ที่ใช้นำสายทั้งสองชนิดลงดิน มีความแตกต่างกันอย่างไร
สายบนเสาไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
เสาไฟฟ้าเมืองไทยที่เราคุ้นเคยกันจะเต็มไปด้วยสายไฟสีดำเต็มไปหมดจนแทบจะแยกกันไม่ออกมามีกี่ประเภท จริงๆแล้วสายไฟบนเสาไฟฟ้าแบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทได้แก่
- สายไฟฟ้าแรงสูง หรือสายที่อยู่ด้านบนที่สุด มีระดับไฟ 69,000 และ 115,000 โวลต์ และระดับ 12,000 และ 24,000 โวลต์ สายไฟฟ้าลักษณะนี้มักทำจากอะลูมิเนียมที่ไม่มีฉนวนหุ้ม หรือมีฉนวนหุ้มบางๆ เท่านั้น จึงมีโอกาสเกิดอันตรายหากใครไปสัมผัส แต่ก็คงเบาใจได้หน่อย เพราะสายไฟฟ้าแรงสูงมักจะอยู่ในที่โล่งกว้างนอกเขตชุมชน และอยู่สูงจากพื้นดิน 10 เมตรขึ้นไป
- สายไฟฟ้าแรงต่ำ สายเหล่านี้จะอยู่ต่ำลงมาจากสายไฟฟ้าแรงสูง และมีหน้าที่สำคัญในการจ่ายไฟให้แก่บ้านเรือนต่างๆ โดยมีระดับไฟ 230 หรือ 400 โวลต์
- สายสื่อสาร ส่วนสายที่เห็นว่าพันกันมั่วซั่ว ขดเป็นวงกลมเหมือนงูนั้นเรียกรวมๆ ว่า สายสื่อสาร ซึ่งประกอบไปด้วย อาทิ สายอินเทอร์เน็ต, สายเคเบิลโทรศัพท์, สายเคเบิลทีวี, สายควบคุมสัญญาณจราจร หรือสายสื่อสารกล้องวงจรปิด เป็นต้น
ท่อที่ใช้ในการนำสายไฟและสายสัญญานลงดิน
ท่อที่นำมาใช้ในการนำสายไฟและสายสัญญาณลงดินมี 2 ประเภท แบ่งสำหรับใช้งานกับสายไฟฟ้า และ สายสัญญาณ
สำหรับสายไฟฟ้า ท่อที่ใช้เรียกว่า Conduit หรือ ท่อร้อยสายไฟ ผลิตจาก HDPE (High Density Polyethylene) คุณภาพสูง มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าชำรุดและเพื่อให้การใช้งานต่อเนื่องยาวนานโดยทางช่างและผู้รับเหมาจะทำการเดินท่อไว้ก่อนแล้วร้อยสายไฟฟ้าเข้าตามไปทีหลัง
บริษัท ไทย-เอเซีย พี.อี. ไพ้พ์ ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณท์ HDPE Conduit คุณภาพสูง แบบมีผนังสองชั้น โดยชั้นในจะถูกเคลือบด้วย Silicone Additive เพื่อช่วยให้ผิวท่อลื่นเป็นพิเศษ ทำให้สามารถร้อยสายไฟฟ้าได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
ข้อดีของ ท่อ HDPE Conduit
- ทนต่อแรงกดสูงเหมาะสำหรับงานลงใต้ดิน
- ทำงานเป็นฉนวนเหมาะกับการร้อยสายไฟแรงสูง
- ภายในเคลือบ SILICOR ADDITIVE ทำให้ลื่นและร้อยสายได้ง่าย
- ทนทานและการใช้งานยาวนาน
งานที่เหมาะกับ ท่อ HDPE Conduit
- งานสายไฟลงดินของเมืองอัจฉริยะ smart city
- งานสายไฟใต้น้ำ
- งานร้อยสายไฟในอาคารและหมู่บ้าน
ในกรณีของสายสัญญาณจะมีท่อพิเศษ เรียกว่า MICRODUCT ที่แยกสายสัญญาณออกจากกันอีกทีเพื่อให้การกระจายสัญญาณเป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสามารถปกป้องการรบกวนของคลื่นไฟฟ้าได้อีกด้วย โดย Microducts ผลิตจาก HDPE (High Density Polyethylene) คุณภาพสูง
บริษัท ไทย-เอเซีย พี.อี. ไพ้พ์ ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณท์ microduct คุณภาพสูง ภายใต้เครื่องหมายการค้า TELETAP™ ซึ่งการใช้งานสามารถทำได้ 2แบบ
- ฝังโดยตรง DIRECT BURIED (DB): TELETAP™ Microduct ที่ผลิตขึ้นสำหรับ DIRECT BURIED (DB) มีผนังด้านนอกที่หนากว่าซึ่งทำให้การติดตั้งราบรื่นและง่ายขึ้น ผนังด้านนอกที่หนาขึ้นยังทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสำหรับเส้นใยไฟเบอร์ออฟติกและสายสัญญาณต่างๆ เนื่องจากสามารถใช้ฝังลงใต้ดินโดยตรงโดยไม่มีการร้อยใส่ท่อเพื่อประหยัดเวลาการทำงานและต้นทุนการก่อสร้าง
- การติดตั้งโดยใส่ในท่อร้อยสายไฟ DIRECT INSTALL (DI): TELETAP™ Microduct ที่ผลิตขึ้นสำหรับ DIRECT INSTALL (DI) จะมีผนังด้านนอกที่บางกว่า เนื่องจากตัว microduct จะอยู่ภายในท่อร้อยสายอีกที พื้นผิวด้านนอกและพื้นผิวด้านในจะลื่นเเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดแรงเสียดทานต่ำ ทำให้การร้อยสายสัญญาณง่ายขึ้น
ข้อดีของ TELETAP™ Microduct
- พื้นผิวเรียบติดตั้งง่าย
- ลดการเปิดหน้าดิน สามารถดำเนินโครงการได้โดยไม่กระทบต่อการสัญจร
- พื้นผิวภายในที่มีแรงเสียดทานต่ำเพื่อการเป่าเส้นไฟเบอร์ออฟติกและสายสัญญาณอื่นๆได้ง่าย
- ช่วยเพิ่มเสถียรภาพของสัญญาณให้คงที่และไม่ถูกรบกวนจากคลื่นไฟฟ้า
- สามารถจัดส่งในรูปแบบ Mega-Coil ความยาวสุงสุด 1500 เมตร
งานที่เหมาะกับ TELETAP™ Microduct
- งานติดตั้งสายสัญญานอินเตอร์เน็ตเข้าที่พัก (FTTH)
- ศูนย์ข้อมูล Data Center
- โครงการโทรคมนาคม
- งานไอโอทีต่างๆ IOTs
- โรงไฟฟ้า
- เมืองอัจฉริยะ smart city
วิธีการนำสายไฟฟ้าและสายสัญญานลงดิน
การนำสายไฟฟ้าและสายสัญญานลงดินใช้หลักเกณฑ์การเลือกพื้นที่โครงการ ประกอบด้วย แนวถนนสายหลัก แนวรถไฟฟ้า ย่านธุรกิจและสถานที่สำคัญ และตามนโยบายของหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ รูปแบบการก่อสร้าง ประกอบด้วย
- วิธีการดันท่อ (Pipe Jacking) ใช้สำหรับการก่อสร้างสำหรับวางบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าบนถนนจราจร
- วิธีการดึงท่อ (Horizontal Directional Drilling : HDD) ใช้สำหรับการก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฟ้าจากบ่อพักไปยังจุดจ่ายไฟต่างๆ
- วิธีการขุดเปิด (Open Cut) ใช้สำหรับการก่อสร้างบ่อพักและวางท่อร้อยสายไฟฟ้าบนทางเท้า
โครงการนำสายไฟฟ้าและสายสัญญาณลงดินของ กทม. และปริมณฑล จัดทำโดยหลายหน่วยงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้านครหลวง กรุงเทพธนาคม ทีโอที สตช. และ อีกหลายหน่วยงานร่วมกัน รวมทั้ง บริษัท ไทย-เอเซีย พี.อี. ไพ้พ์ จำกัด ที่เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายท่อ hdpe conduit และ ท่อ hdpe microduct สำหรับงานท่อร้อยสายไฟฟ้าและสายสัญญาณ มาหลายโครงการในประเทศไทย
หากท่านสนใจท่อร้อยสายไฟและท่อร้อยสายสัญญาณ สามารถติดต่อ บริษัท ไทย-เอเซีย พี.อี. ไพ้พ์ จำกัด ได้ที่ 02-818-8720 หรือ อีเมล์ global@tappipe.com
อ้างอิง:
https://thestandard.co/underground-cable-project/
https://www.condonewb.com/talk/1036/สายไฟลงดิน
https://today.line.me/th/v2/article/rLMWY0’
https://www.thaich8.com/news_detail/99300
https://www.dailynews.co.th/bangkok/781605/
https://www.thairath.co.th/business/economics/1701636
https://www.thanakom.co.th/17484219/ความคืบหน้าโครงการ
https://www.checkraka.com/condo/article/125571/
https://www.thanakom.co.th
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2256046
https://thestandard.co/lead-possibility-wires-communication-cables-to-ground/
Nice content