การวางท่อในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีที่จะทำให้การเดินท่อผ่านไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ล่ะวิธีเหมาะสมกับสภาพไซต์งานแต่ล่ะแบบ รวมไปถึงการเลือกวิธี อาจจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในโครงการนั้นๆ และในวันนี้เราพาทุกคนไปรู้จัก กับหนึ่งในวิธีวางท่อ HDPE วิธีที่เราจะพาไปรู้จักก็คือ วิธีการวางท่อ HDPE แบบ pipe jacking
การวางท่อ HDPE แบบ Pipe Jacking คืออะไร?
Pipe Jacking หรือที่คนไทยเราเรียกติดปากว่า วิธีการวางท่อแบบ “การดันท่อ” ชื่อที่ถูกเรียกติดปากก็มาจากกลวิธีในการวางท่อนั่นเอง และการใช้วิธี Pipe Jacking เป็นหนึ่งในวิธีที่ไม่ต้องการขุดร่องลึก เพื่อวางท่อ เหมาะสมกับการวางท่อหลากหลายรูปแบบ แต่มักจะใช้การวางท่อหน้าไซต์งานที่ท่อแทบไม่ต้องหลบหลีก หรือเหมาะกับหน้างานที่ท่อวางตรงอย่างมาก
การวางท่อแบบ Pipe Jacking เหมาะสมกับงานแบบไหน?
การวางท่อด้วยวิธี Pipe Jacking เหมาะสมกับงานที่ไม่สามารถขุดร่องลึกเพื่อวางท่อได้ อย่างเช่นการวางท่อผ่านทางรถ การวางท่อผ่านถนนหนทาง เพราะว่าด้วยวิธีการที่ไม่ต้องขุดร่องลึก ทำให้ไม่มีความจำเป็นจะต้องปิดผิวการจราจร ซึ่งงานประเภทนี้ หากปิดผิวจราจรอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ปัญหาที่จะตามมาก็คือการฟื้นฟูสภาพของผิวจราจร ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟ และถนน จะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยส่วนมากมักจะเป็นการวางท่อประปา และท่อแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสม
ข้อจำกัดการวางท่อแบบ Pipe Jacking
ขั้นตอนการวางท่อแบบ Pipe Jacking ต้องทำการสำรวจสภาพดินที่ต้องทำการวางท่อหน้าไซต์ที่ขุดเจาะ และลักษณะดินในบริเวณที่จะทำการดันท่อผ่าน ในขั้นตอนการตรวจสอบต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์อย่างมาก สำหรับวิศวะกร และควรระวังเป็นพิเศษในพื้นที่บางแห่ง ที่ดินมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษ หากตำแหน่งที่ต้องการวางท่อดินมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ อาจจะไม่สามารถรองรับได้ แต่สามารถแก้ไขด้วยวิธีการเสริมความแข็งแรงของดินในบริเวณดังกล่าว และยังต้องมีข้อควรระวังในพื้นที่ ที่มีหินเป็นจำนวนมาก อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อท่อได้
ขั้นตอนการวางท่อ HDPE แบบ Pipe Jacking
หลังจากที่สำรวจพื้นที่ และหากพบว่าพื้นที่สามารถดำเนินการวางท่อโดยวิธี Pipe Jacking ได้ โดยที่บริเวณโดยรอบพื้นที่ไม่มีปัญหาความอ่อน หรือมีหินมากเกินไป ในขั้นตอนต่อไปจะมีการเปิดผิวดินในพื้นที่ เพื่อที่จะวางเครื่อง “ดัน”
บ่อดันท่อ
ในพื้นที่ ที่ทำการวางเครื่องดัน หลายคนมักจะเรียกพื้นที่ตรงนี้ว่า “บ่อดันท่อ” โดยในบ่อดังกล่าวจะมีการเตรียมพื้นที่ เพื่อที่จะนำเครื่องดันท่อมีหัวเจาะแบบพิเศษ เจาะเปิดและทำการดันท่อผ่านไปยังพื้นที่ปลายทาง ในบ่อนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการดันลอดผ่านผิวถนน หรือ ลอดผ่านอุปสรรค สิ่งกีดขวาง
บ่อรับ
ในส่วนของพื้นที่ปลายทางก็จะมีการเปิดผิวดิน ในลักษณะที่เหมือนกับ บ่อดันท่อ จะเรียกกันว่า “บ่อรับ” ในขั้นตอนบ่อรับ จะไว้ใช้สำหรับนำหัวเจาะออกจากพื้นที่ไซต์งาน
การวางท่อ HDPE แบบ Pipe Jacking สามารถวางยาวได้แค่ไหน?
การใช้เทคนิค หรือกระบวรการวิธี Pipe Jacking ความยาวสูงสุดที่สามารถทำได้ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือ พื้นที่บริเวณโดยรอบ และบริเวณที่ท่อต้องผ่านจะถูกยึดเป็นหลัก และยังมีเรื่องของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อที่จะนำมาติดตั้ง
บทสรุป การวางท่อ HDPE แบบ Pipe Jacking
และในที่สุดมาก็มาถึงบทสุดท้าย มาถึงบท “สรุป” แม้จะจะเป็นการวางท่อที่มีขีดความสามารถอย่างมาก แต่ก็มีข้อจำกัดที่หลากหลาย เหมาะสมกับงานบางประเภท และพื้นที่บางพื้นที่ แต่แน่นอนมีข้อเสียเปรียบกับวิธีอื่นๆ แต่ก็กลับมีข้อดี และนิยมนำมาใช้กับงานใหญ่ๆมากกว่า ที่สำคัญการวางท่อแบบ Pipe Jacking ยังไม่มีความจำเป็นต้องปิดการจราจร เหตุผลก็อย่างที่กล่าวไป ไม่มีความจำเป็นต้องขุดร่องลึกเพื่อวางท่อนั่นเอง
Reference
https://www.trenchlesspedia.com/
Comments are closed.